การบ้านวันที่
18-24 มิ.ย. 2555
1.ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 ได้ระบุไว้ในหมวด ที่ 9 ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ
1. สื่อโสตทัศน์ 2.
สื่อมวลชน
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
รวมทั้งคอมพิวเตอร์
4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น
ห้องสมุด
2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท
อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ สื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปนั้น
มีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภท คือ
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย
• สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ ตำราเรียน
คู่มือฯ
• ของจริงของตัวอย่าง
• ของจำลองหุ่นจำลองขนาดเท่าหรือขยายเท่าของจริง |
• วัสดุกราฟิก
เช่น แผนภาพ แผนภูมิโปสเตอร์ ภาพถ่ายภาพเขียน การ์ตูน
• กระดานดำ กระดานขาว
• กระดานแม่เหล็กกระดานผ้าสำลี
• การศึกษานอกสถานที่
2.
สื่อที่ใช้เครื่องฉาย
• เครื่องฉายทึบแสง
• สไลด์
• วีดิทัศน์
3.
สื่อที่ใช้เครื่องเสียง
• วิทยุ
• เทปบันทึกเสียง
•
แผ่นซีดี
4. สื่อเชิงโต้ตอบ
• คอมพิวเตอร์
• บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
• อินเตอร์เน็ต
• การสอนใช้เว็บเป็นฐานการสอนบนเว็บ
3.ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์เป็นของนักการศึกษาท่านใด
และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
ตอบ เอดการ์
เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์
และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of
Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี
1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
2.
ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
4.
การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
5.
การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
6.
นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด
การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
8.
ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
10. ทัศนะสัญลักษณ์
เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
11. วจนะสัญลักษณ์
ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด
4.การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น
ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน
สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร
ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม
หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร
โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น
ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
5.สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด
จงอธิบาย
ตอบ
เป็นสื่อและช่องทางเพราะเป็นสื่อกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน
เช่นสิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเล็กทรอนิกส์
6.จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ
ตอบ
เดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo)
เสนอแบบจำลองการสื่อสารไว้
เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยอธิบายว่า การสื่อสารประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ
6 ประการ คือ
1. ต้นแหล่งสาร (communication source)
2. ผู้เข้ารหัส (encoder)
3. สาร (message)
4. ช่องทาง (channel)
5. ผู้ถอดรหัส (decoder)
6. ผู้รับสาร (communication receiver)
จากส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6
ประการนั้น เบอร์โล ได้นำเสนอเป็นแบบจำลองการสื่อสารที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่า
"แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล"(Berlo's
SMCR Model)โดยเบอร์โลได้รวมต้นแหล่งสารกับผู้เข้ารหัสไว้ในฐานะต้นแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร
และรวมผู้ถอดรหัสกับผู้รับสารไว้ในฐานะผู้รับสาร แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลนี้
จึงประกอบไปด้วย S (Source or Sender) คือ ผู้ส่งสาร M
(Message) คือ สาร C (Channel) คือ
ช่องทางการสื่อสาร R (Receiver) คือ ผู้รับสาร
7.อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ อุปสรรคในการสื่อสาร
หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร
และผู้รับสาร
อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร
ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
• อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1
ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2
ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3
ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4
ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5
ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6
ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
• อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1
สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี
สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3
สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4
สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
• อุปสรรคที่เกิดจากสื่อหรือช่องทาง
3.1
การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2
การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3
การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
• อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2
ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3
ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4
ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.5
ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
8.บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ เป็นผู้ส่ง
ผู้รับ สื่อกลาง และข้อมูลข่าวสารสนเทศ
9.ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่
1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิด เบอร์โล
ตอบ
10.การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)
เเหล่งอ้างอิง : http://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/03_2.html
http://e-book.ram.edu/e-book/m/mc111/mc111_03_04.html