วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เเบบฝึกหัด โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา (Telecommunication for Education)

1. โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง

ตอบ โทรคมนาคม คือ การส่งข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของ ตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ โดยใช้กระบวนการต่างๆที่หลากหลายมาเป็นสื่อ เช่น ระบบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 
      ระบบโทรคมนาคม มีประโยชน์ในด้านของการศึกษา คือ
      - การสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
      - การสื่อสารผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง

*** *** *** *** ***

2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook

ตอบ เป็น เป็นระบบสื่อสารที่รวดเร็วผ่านสื่อออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น
       - การสั่งงาน การฝากไฟล์งานต่างๆ สามารถกระทำได้ใน  Facebook 
       - ใน Facebook เราสามารถสร้างเพจสำหรับใช้ในการเรียนการสอนได้
       - การแชท หรือ การแชทแบบเห็นใบหน้า (Video Call) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประชุมงาน ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี 


*** *** *** *** ***

3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง

ตอบ สามารถรับชมได้ ด้วยวิธี 

1. ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ โดยถ้าหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชม

2. รายการระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน 

3. วิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

*** *** *** *** ***

4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย 

ตอบ ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม มีดังนี้
  1. แก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน 
  2. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลต่างๆ ได้ทุกเพศทุกวัย 
  3. เนื่องจากโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม ได้มีการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา จึงทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมได้ 
  4. พัฒนาการศึกษาให้ครอบคลุมได้ทั่วประเทศ ทุกเพศทุกวัย
*** *** *** *** ***

5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc  และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม


ตอบ การส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) ไปถึงทุกโรงเรียนเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ เพื่อการศึกษามีคุณภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ แก้ปัญหาอาทิเช่น ครูขาดแคลน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกรียติจากที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ปีที่ครูโรงเรียนไกลกังวนได้ศึกษานอกสถานที่เพื่อถ่ายทอดเป็นความรู้ รายการและได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้สอนเรื่องดินและฝนหลวงในรายการศึกษาทัศน์ อีกด้วย

*** *** *** *** ***

6. ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog


ดาวเทียม ส่วนหนึ่งในระบบโทรคมนาคม


 การประชุมผ่านระบบไร้สาย หรือ Video Conference

Facebook สามารถเป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาได้

*** *** *** *** ***

เเบบฝึกหัด สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา (Mass Communication)


1.   สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีทั้งหมด 6 ประเภท คือ

1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่น ๆ


2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และ ภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท


3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ ระบบ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย


4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางกายภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย


5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์


6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและอย่างรวดเร็ว



*** *** *** *** ***


2.   คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ความรู้ทางด้านวิชาการใหม่ ๆ และเจตคติในด้านต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาที่อย่างเห็นได้ชัดอย่างยิ่งขึ้น


*** *** *** *** ***

3.   ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ

ตอบ รายการ หนึ่งสมองสองมือ เป็นรายการเกี่ยวกับอาชีพในสังคม โดยมีพิธีกรพาไปรับชมถึงอาชีพนั้นๆ รวมทั้งพาไปล้วงความลับ การทำอาชีพนั้นๆ สูตรเด็ด เคล็ดลับต่างๆ 
      โดยรายการนี้ มีประโยชน์ คือ
       1. ช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีอาชีพที่ดี สุจริต
       2. ให้ความรู้ในเรื่องอาชีพนั้นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้
       3. สร้างรายได้ให้กับผู้ที่สนใจที่จะนำอาชีพไปต่อยอด



*** *** *** *** ***






วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งหนึ่ง ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



             
           
           สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการจัดเเสดงเรื่องราวต่างๆไว้ให้ผู้เข้าชมมากมาย แต่ละอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้ประโยชน์ และยังมีความน่าสนใจอีกด้วย ซึ่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้มีการจัดแสดงไว้ 2 ชั้น ด้วยกัน คือ


บริเวณชั้น 1  เป็นสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม

       ในส่วนนี้ก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย  โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ประกอบด้วย สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ปลาในแนวปะการัง  การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม ปลาเศรษฐกิจ ปลารูปร่างแปลก ปลามีพิษ และปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร









             นอกจากนั้นยังได้รับความรู้ที่น่าสนใจและสามารถหาคำตอบได้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล คือ
  1. ราชาแห่งท้องทะเล คือ ฉลาม
  2. ราชินีแห่งท้องทะเล คือ ทากทะเล
  3. น้ำทะเลที่อยู่ในตู้ปลานำมาจากอำเภอสัตหีบ
  4. ปลาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ  ประเภทที่นำมาเป็นอาหาร เช่น ปลากะรัง (ปลาเก๋า) ปลากะพง ปลาอีคุด ปลาสีขน ปลาสร้อยนกเขาลายตรง ปลาหูช้าง ปลานวลจันทร์ ปลาจาระเม็ด ปลาอินทรี เป็นต้น ประเภทที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เช่น ปลาสลิดทะเล ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทร ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาฉลามกบ ปลาตาเหลือกสั้น เป็นต้น

บริเวณชั้น 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการจัดแสดงเรื่องราวต่างๆดังนี้



         ส่วนแรก จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง ซึ่งก็ทำให้เราได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อธรรมชาติ ก็ทำให้เราได้ตระหนักถึงสิ่งนั้นด้วย

         ส่วนที่สอง จัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้ คือ



          นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล ทำให้ได้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล  สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา


          นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้ก็จะได้รับความรู้ในเรื่องของการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น
  

            นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  ในส่วนนี้ก็จะเห็นความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น

  
           ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้ก็จะได้รับความรู้ในเรื่อง เปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ รวมทั้งมีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก

          จากการที่ได้ศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สามารถแบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ คือ
         นำหลักการสื่อสารโดยประสบการณ์การเรียนรู้ของ Edgar Dale  นำมาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับอรรถรสในการรับชมอย่างเต็มที่ คือ มีการใช้สื่อต่างๆมาประกอบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนซึ่งประกอบด้วย
  1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย สาระที่นำเสนอคือ อุโมงค์ขนาดใหญ่ที่ได้รวมพันธุ์ปลาชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลน้ำลึกและน้ำตื้น ให้เราได้เห็นกันอย่างใกล้ชิดและชัดเจน ตัวอย่างเช่น ปลา ปลิง กุ้ง หอย ปะการัง เป็นต้น
  2. ประสบการณ์จำลอง สาระที่นำเสนอคือ การจำลองโลกใต้ทะเลมาเป็นอุโมงค์ให้ศึกษา  การจำลองอุปกรณ์ที่ใช้ในด้านการประมงในสมัยก่อน เป็นต้น
  3. การศึกษานอกสถานที่ สาระที่นำเสนอคือ การศึกษาหาความรู้จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เกี่ยวกับสัตว์โลกใต้ทะเล
  4. นิทรรศการ สาระที่นำเสนอคือ การจัดป้ายนิทรรศการกำเนิดมอลลัสก์ ซึ่งเป็นหอยชนิดต่างๆป้ายนิเทศพ่อผู้ให้กำเนิด ซึ่งก็คือม้าน้ำนั่นเอง และยังมีป้ายนิทรรศการอื่นๆอีก
  5. โทรทัศน์ศึกษา สาระที่นำเสนอคือ การ์ตูนเกี่ยวกับดินแดนมอลลัสก์
  6. ทัศนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ แผนผังหรือแผนที่สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม แผนภูมิแบบต้นไม้ที่แสดงอาณาจักรของสิ่งมีชิวิตใน ทะเล การ์ตูน Animation เกี่ยวกับมอลลัสก์ เป็นต้น
  7. วจนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ ข้อความต่างๆที่บอกรายละเอียด เนื้อหา สาระสำคัญ เช่น ชนิดหรือประเภทของสัตว์ที่อยู่ใต้ทะเล เป็นต้น

         จากการไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้ทราบว่าในสถานที่นี้มีสื่อประเภทวัสดุกราฟิกต่างๆดังนี้
  1. แผนภูมิ เช่น แผนภูมิแสดงอาณาจักรสัตว์ใต้ทะเล แผนภูมิแสดงวิวัฒนาการของสัตว์ และแผนผังแสดงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
  2. หุ่นจำลอง เช่น แบบจำลองการทำประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล ยกตัวอย่างเช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น สัตว์สต๊าฟ เป็นต้นง
  3. ของจริง เช่น การได้ดูหรือพบเห็นสัตว์ต่างๆที่อยู่ในตู้ปลา ทั้งปลา ปะการัง และสัตว์อื่นๆ
  4. ป้ายนิเทศ เช่น ข้อความที่บอกประเภทหรือชนิดของสัตว์น้ำใต้ทะเล และป้ายนิเทศแสดงการเกิดของมอลลัสก์ เป็นต้น
  5. ตู้อันตรทัศน์ เช่น ฉากแสดงพื้นที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ฉากแสดงเปลือกหอยและหอยประเภทต่างๆ เป็นต้น


ภาพกิจกรรม














วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาพการอบรม การใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 5 กรกฎาคม 2555

           
                  วิทยากร ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น  





             
                ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาธิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
               นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม  บรืการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์


ชั้นที่ 1 บริการที่สำหรับทำงาน กิจกรรมต่างๆ

Book Showroom @ ชั้น2 สำนักหอสมุด

มุมอ่านหนังสือ มีทุกชั้นในหอสมุด


บริการหนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง ฯลฯ
@ ชั้น3,ชั้น4,ชั้น5 


ชั้น6 เป็นส่วนที่บริการในเรื่องสื่อโสตทัศน์ เทปเสียง ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม บริการอินเทอร์เน็ต ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบ้านวันที่ 18-24 มิ.ย. 2555


การบ้านวันที่ 18-24 มิ.ย. 2555

1.ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 ได้ระบุไว้ในหมวด ที่ 9  ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ
1. สื่อโสตทัศน์                            2. สื่อมวลชน
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมทั้งคอมพิวเตอร์
4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น ห้องสมุด


2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ       สื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปนั้น มีอยู่ทั้งหมด  4 ประเภท คือ
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย
สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ  ตำราเรียน  คู่มือฯ  

      

                     
                        • ของจริงของตัวอย่าง

      


                     • ของจำลองหุ่นจำลองขนาดเท่าหรือขยายเท่าของจริง


 


                    • วัสดุกราฟิก เช่น แผนภาพ แผนภูมิโปสเตอร์ ภาพถ่ายภาพเขียน การ์ตูน

                   • กระดานดำ กระดานขาว

         
                   • กระดานแม่เหล็กกระดานผ้าสำลี



                    การศึกษานอกสถานที่



2. สื่อที่ใช้เครื่องฉาย
เครื่องฉายทึบแสง


สไลด์

วีดิทัศน์

3. สื่อที่ใช้เครื่องเสียง
วิทยุ


เทปบันทึกเสียง

                    • แผ่นซีดี

4. สื่อเชิงโต้ตอบ
คอมพิวเตอร์

  
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน



                    • อินเตอร์เน็ต




การสอนใช้เว็บเป็นฐานการสอนบนเว็บ





3.ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
ตอบ       เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น กรวยประสบการณ์”  (Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี
          1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
          2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
          3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
         4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
         5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
         6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
          7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
          8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
          9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
          10. ทัศนะสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
          11. วจนะสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด



4.การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ       คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล


5.สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ  เป็นสื่อและช่องทางเพราะเป็นสื่อกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เช่นสิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเล็กทรอนิกส์



6.จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ
ตอบ  

เดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) เสนอแบบจำลองการสื่อสารไว้    เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยอธิบายว่า การสื่อสารประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ คือ
            1. ต้นแหล่งสาร (communication source)
2. ผู้เข้ารหัส (encoder)
3. สาร (message)
4. ช่องทาง (channel)
5. ผู้ถอดรหัส (decoder)
6. ผู้รับสาร (communication receiver)
จากส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการนั้น เบอร์โล ได้นำเสนอเป็นแบบจำลองการสื่อสารที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่า "แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล"(Berlo's SMCR Model)โดยเบอร์โลได้รวมต้นแหล่งสารกับผู้เข้ารหัสไว้ในฐานะต้นแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร และรวมผู้ถอดรหัสกับผู้รับสารไว้ในฐานะผู้รับสาร แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลนี้ จึงประกอบไปด้วย S (Source or Sender) คือ ผู้ส่งสาร M (Message) คือ สาร C (Channel) คือ ช่องทางการสื่อสาร R (Receiver) คือ ผู้รับสาร


7.อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ       อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
                                1.1  ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
                                1.2  ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
                                1.3  ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
                                1.4  ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
                                1.5  ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
                                1.6  ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
อุปสรรคที่เกิดจากสาร
                                2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2  สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
                                2.3  สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
                                2.4  สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
อุปสรรคที่เกิดจากสื่อหรือช่องทาง
3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2  การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3  การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
                                4.2  ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
                                4.3  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
                                4.4  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
                                4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป



8.บทเรียน  e-Learning  เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ  เป็นผู้ส่ง   ผู้รับ   สื่อกลาง   และข้อมูลข่าวสารสนเทศ


9.ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิด เบอร์โล
ตอบ 


10.การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ  การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)





เเหล่งอ้างอิง : http://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/03_2.html

                      http://e-book.ram.edu/e-book/m/mc111/mc111_03_04.html