สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการจัดเเสดงเรื่องราวต่างๆไว้ให้ผู้เข้าชมมากมาย
แต่ละอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้ประโยชน์ และยังมีความน่าสนใจอีกด้วย
ซึ่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้มีการจัดแสดงไว้ 2
ชั้น ด้วยกัน คือ
บริเวณชั้น 1 เป็นสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
ในส่วนนี้ก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย
โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต
โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ประกอบด้วย
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ปลาในแนวปะการัง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม ปลาเศรษฐกิจ
ปลารูปร่างแปลก ปลามีพิษ และปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร
นอกจากนั้นยังได้รับความรู้ที่น่าสนใจและสามารถหาคำตอบได้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คือ
- ราชาแห่งท้องทะเล คือ ฉลาม
- ราชินีแห่งท้องทะเล คือ ทากทะเล
- น้ำทะเลที่อยู่ในตู้ปลานำมาจากอำเภอสัตหีบ
- ปลาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่นำมาเป็นอาหาร เช่น ปลากะรัง (ปลาเก๋า) ปลากะพง ปลาอีคุด ปลาสีขน ปลาสร้อยนกเขาลายตรง ปลาหูช้าง ปลานวลจันทร์ ปลาจาระเม็ด ปลาอินทรี เป็นต้น ประเภทที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เช่น ปลาสลิดทะเล ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทร ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาฉลามกบ ปลาตาเหลือกสั้น เป็นต้น
บริเวณชั้น 2
ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการจัดแสดงเรื่องราวต่างๆดังนี้
นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล
ในส่วนนี้ก็จะได้รับความรู้ในเรื่องของการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล
รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่
ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน
ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น
ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้ก็จะได้รับความรู้ในเรื่อง
เปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ รวมทั้งมีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม
วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก
จากการที่ได้ศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สามารถแบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้
ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ คือ
นำหลักการสื่อสารโดยประสบการณ์การเรียนรู้ของ Edgar Dale นำมาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับอรรถรสในการรับชมอย่างเต็มที่
คือ มีการใช้สื่อต่างๆมาประกอบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนซึ่งประกอบด้วย
- ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย สาระที่นำเสนอคือ อุโมงค์ขนาดใหญ่ที่ได้รวมพันธุ์ปลาชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลน้ำลึกและน้ำตื้น ให้เราได้เห็นกันอย่างใกล้ชิดและชัดเจน ตัวอย่างเช่น ปลา ปลิง กุ้ง หอย ปะการัง เป็นต้น
- ประสบการณ์จำลอง สาระที่นำเสนอคือ การจำลองโลกใต้ทะเลมาเป็นอุโมงค์ให้ศึกษา การจำลองอุปกรณ์ที่ใช้ในด้านการประมงในสมัยก่อน เป็นต้น
- การศึกษานอกสถานที่ สาระที่นำเสนอคือ การศึกษาหาความรู้จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เกี่ยวกับสัตว์โลกใต้ทะเล
- นิทรรศการ สาระที่นำเสนอคือ การจัดป้ายนิทรรศการกำเนิดมอลลัสก์ ซึ่งเป็นหอยชนิดต่างๆป้ายนิเทศพ่อผู้ให้กำเนิด ซึ่งก็คือม้าน้ำนั่นเอง และยังมีป้ายนิทรรศการอื่นๆอีก
- โทรทัศน์ศึกษา สาระที่นำเสนอคือ การ์ตูนเกี่ยวกับดินแดนมอลลัสก์
- ทัศนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ แผนผังหรือแผนที่สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม แผนภูมิแบบต้นไม้ที่แสดงอาณาจักรของสิ่งมีชิวิตใน ทะเล การ์ตูน Animation เกี่ยวกับมอลลัสก์ เป็นต้น
- วจนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ ข้อความต่างๆที่บอกรายละเอียด เนื้อหา สาระสำคัญ เช่น ชนิดหรือประเภทของสัตว์ที่อยู่ใต้ทะเล เป็นต้น
- แผนภูมิ เช่น แผนภูมิแสดงอาณาจักรสัตว์ใต้ทะเล แผนภูมิแสดงวิวัฒนาการของสัตว์ และแผนผังแสดงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
- หุ่นจำลอง เช่น แบบจำลองการทำประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล ยกตัวอย่างเช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น สัตว์สต๊าฟ เป็นต้นง
- ของจริง เช่น การได้ดูหรือพบเห็นสัตว์ต่างๆที่อยู่ในตู้ปลา ทั้งปลา ปะการัง และสัตว์อื่นๆ
- ป้ายนิเทศ เช่น ข้อความที่บอกประเภทหรือชนิดของสัตว์น้ำใต้ทะเล และป้ายนิเทศแสดงการเกิดของมอลลัสก์ เป็นต้น
- ตู้อันตรทัศน์ เช่น ฉากแสดงพื้นที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ฉากแสดงเปลือกหอยและหอยประเภทต่างๆ เป็นต้น
ภาพกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น