วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งหนึ่ง ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



             
           
           สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการจัดเเสดงเรื่องราวต่างๆไว้ให้ผู้เข้าชมมากมาย แต่ละอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้ประโยชน์ และยังมีความน่าสนใจอีกด้วย ซึ่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้มีการจัดแสดงไว้ 2 ชั้น ด้วยกัน คือ


บริเวณชั้น 1  เป็นสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม

       ในส่วนนี้ก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย  โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ประกอบด้วย สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ปลาในแนวปะการัง  การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม ปลาเศรษฐกิจ ปลารูปร่างแปลก ปลามีพิษ และปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร









             นอกจากนั้นยังได้รับความรู้ที่น่าสนใจและสามารถหาคำตอบได้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล คือ
  1. ราชาแห่งท้องทะเล คือ ฉลาม
  2. ราชินีแห่งท้องทะเล คือ ทากทะเล
  3. น้ำทะเลที่อยู่ในตู้ปลานำมาจากอำเภอสัตหีบ
  4. ปลาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ  ประเภทที่นำมาเป็นอาหาร เช่น ปลากะรัง (ปลาเก๋า) ปลากะพง ปลาอีคุด ปลาสีขน ปลาสร้อยนกเขาลายตรง ปลาหูช้าง ปลานวลจันทร์ ปลาจาระเม็ด ปลาอินทรี เป็นต้น ประเภทที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เช่น ปลาสลิดทะเล ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทร ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาฉลามกบ ปลาตาเหลือกสั้น เป็นต้น

บริเวณชั้น 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการจัดแสดงเรื่องราวต่างๆดังนี้



         ส่วนแรก จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง ซึ่งก็ทำให้เราได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อธรรมชาติ ก็ทำให้เราได้ตระหนักถึงสิ่งนั้นด้วย

         ส่วนที่สอง จัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้ คือ



          นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล ทำให้ได้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล  สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา


          นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้ก็จะได้รับความรู้ในเรื่องของการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น
  

            นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  ในส่วนนี้ก็จะเห็นความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น

  
           ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้ก็จะได้รับความรู้ในเรื่อง เปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ รวมทั้งมีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก

          จากการที่ได้ศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สามารถแบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ คือ
         นำหลักการสื่อสารโดยประสบการณ์การเรียนรู้ของ Edgar Dale  นำมาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับอรรถรสในการรับชมอย่างเต็มที่ คือ มีการใช้สื่อต่างๆมาประกอบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนซึ่งประกอบด้วย
  1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย สาระที่นำเสนอคือ อุโมงค์ขนาดใหญ่ที่ได้รวมพันธุ์ปลาชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลน้ำลึกและน้ำตื้น ให้เราได้เห็นกันอย่างใกล้ชิดและชัดเจน ตัวอย่างเช่น ปลา ปลิง กุ้ง หอย ปะการัง เป็นต้น
  2. ประสบการณ์จำลอง สาระที่นำเสนอคือ การจำลองโลกใต้ทะเลมาเป็นอุโมงค์ให้ศึกษา  การจำลองอุปกรณ์ที่ใช้ในด้านการประมงในสมัยก่อน เป็นต้น
  3. การศึกษานอกสถานที่ สาระที่นำเสนอคือ การศึกษาหาความรู้จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เกี่ยวกับสัตว์โลกใต้ทะเล
  4. นิทรรศการ สาระที่นำเสนอคือ การจัดป้ายนิทรรศการกำเนิดมอลลัสก์ ซึ่งเป็นหอยชนิดต่างๆป้ายนิเทศพ่อผู้ให้กำเนิด ซึ่งก็คือม้าน้ำนั่นเอง และยังมีป้ายนิทรรศการอื่นๆอีก
  5. โทรทัศน์ศึกษา สาระที่นำเสนอคือ การ์ตูนเกี่ยวกับดินแดนมอลลัสก์
  6. ทัศนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ แผนผังหรือแผนที่สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม แผนภูมิแบบต้นไม้ที่แสดงอาณาจักรของสิ่งมีชิวิตใน ทะเล การ์ตูน Animation เกี่ยวกับมอลลัสก์ เป็นต้น
  7. วจนสัญลักษณ์ สาระที่นำเสนอคือ ข้อความต่างๆที่บอกรายละเอียด เนื้อหา สาระสำคัญ เช่น ชนิดหรือประเภทของสัตว์ที่อยู่ใต้ทะเล เป็นต้น

         จากการไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้ทราบว่าในสถานที่นี้มีสื่อประเภทวัสดุกราฟิกต่างๆดังนี้
  1. แผนภูมิ เช่น แผนภูมิแสดงอาณาจักรสัตว์ใต้ทะเล แผนภูมิแสดงวิวัฒนาการของสัตว์ และแผนผังแสดงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
  2. หุ่นจำลอง เช่น แบบจำลองการทำประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล ยกตัวอย่างเช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น สัตว์สต๊าฟ เป็นต้นง
  3. ของจริง เช่น การได้ดูหรือพบเห็นสัตว์ต่างๆที่อยู่ในตู้ปลา ทั้งปลา ปะการัง และสัตว์อื่นๆ
  4. ป้ายนิเทศ เช่น ข้อความที่บอกประเภทหรือชนิดของสัตว์น้ำใต้ทะเล และป้ายนิเทศแสดงการเกิดของมอลลัสก์ เป็นต้น
  5. ตู้อันตรทัศน์ เช่น ฉากแสดงพื้นที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ฉากแสดงเปลือกหอยและหอยประเภทต่างๆ เป็นต้น


ภาพกิจกรรม














วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาพการอบรม การใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 5 กรกฎาคม 2555

           
                  วิทยากร ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น  





             
                ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาธิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
               นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม  บรืการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์


ชั้นที่ 1 บริการที่สำหรับทำงาน กิจกรรมต่างๆ

Book Showroom @ ชั้น2 สำนักหอสมุด

มุมอ่านหนังสือ มีทุกชั้นในหอสมุด


บริการหนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง ฯลฯ
@ ชั้น3,ชั้น4,ชั้น5 


ชั้น6 เป็นส่วนที่บริการในเรื่องสื่อโสตทัศน์ เทปเสียง ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม บริการอินเทอร์เน็ต ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ ฯลฯ